"สุเมธ"เผยพระราชกรณียกิจ"ในหลวง" ทรงห่วงใยเรื่องน้ำตลอด60ปีครองราชย์
ท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม "ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล" เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยเรื่องน้ำมาตลอดการครองสิริราชสมบัติ และพระราชทานคำแนะนำมาตลอด พร้อมระบุว่ามีพื้นที่บ่อลูกรังแถบจังหวัดภาคตะวันออกที่ทิ้งไว้ขนาดใหญ่สามารถรองรับน้ำได้หลายล้านลูกบาศก์เมตร มีรายละเอียดดังนี้.....
"ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล" เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยเรื่องน้ำมาตลอดการครองสิริราชสมบัติ 60 ปี และพระราชกรณียกิจที่ทรงงานร้อยละ 75 จะเกี่ยวข้องกับน้ำทั้งสิ้น ได้พระราชทานคำแนะนำช่วยแก้ปัญ หาน้ำมานานนับสิบปี ไม่ว่าจะเป็นโครงการแก้มลิง หรือล่าสุดที่ทรงมีกระแสรับสั่งให้ผันน้ำเข้าพื้นที่ส่วนพระองค์"
ทั้งนี้การบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพต้องร่วมมือกันหลายหน่วยงาน มีแผนงานและประสานงานกันอย่างรู้รักสามัคคี และเมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมและสำนักงานไอทีน้ำเพื่อการ เกษตร ได้ไปตรวจสอบพื้นที่บริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออกของประเทศแถบ จ.ระยอง และเห็นว่ามีโครง การต่างๆที่ใช้หน้าดินไปแล้ว และมีบ่อลูกรังทิ้งไว้จำนวนมาก ถ้านำมาใช้ประโยชน์เพื่อรองรับน้ำจะรับน้ำได้จำนวนมหาศาล หรือปริมาณล้านล้านลูกบาศก์เมตร
ทางซีกตะวันออกที่เมื่อปีที่แล้วขาดน้ำมาก เราได้เห็นว่ามีโครงสร้างของดินที่ไม่ได้ใช้มากเลย คือ บ่อลูกรังยักษ์ขนาดมโหฬาร บางแห่งบรรจุน้ำได้เป็นล้านๆลูกบาศก์เมตร ซึ่งพอขายดินเสร็จก็ทิ้งไว้อย่างนั้น เราก็ไปดูแล้วมานั่งถามตัวเองว่าทำไมโครงสร้างอย่างนี้ไม่เก็บไว้ เวลาน้ำมามากๆบ่อที่เสียไปแล้วก็ควรสร้างประโยชน์ซ้ำเข้าไป เราประมาณจากภาพถ่ายดาวเทียมได้หลายๆล้านลูกบาศก์เมตร พอมีน้ำอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ก็ช่วยประทังให้ได้ เราควรจะดูรอบๆตัวเราก่อน ไม่ใช่คิดจะใช้งบ ประมาณเป็นหมื่นล้านแสนล้าน โดยยังไม่ได้ดูภาพรวมของประเทศ
"ผมคิดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวหลักๆมาให้ภาพรวมผังใหญ่ๆ ถ้าดำเนินการตามแผนต่างๆเหล่านี้ได้ ผมคิดว่าปัญหานี้จะบรรเทาลง เพราะผมเสียดายว่าตอนน้ำมีเราต้องระบายเอาน้ำทิ้ง พอน้ำแล้งก็ไม่รู้จะไปเอาที่ไหน ซึ่งสองจังหวะตรงนี้จะบริหารจัดการอย่างไรให้เก็บและใช้ตอนยามไม่มี เราต้องดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ทั้งหมด"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงเตือนเรื่องการก่อสร้างทางกายภาพที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นถนน ทางรถไฟ แม้กระทั่งบ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นมาแล้วไปขวางทางน้ำ ดังนั้นการสร้างโครงสร้างใหญ่ๆของประเทศ ทุกกระทรวงต้องศึกษาเรื่องน้ำพร้อมกันไปด้วย ไม่ใช่คิดเอาแต่ความสะดวก ส่วน มากไม่ได้ศึกษา มีบางปีน้ำท่วมใหญ่ ทรงรับสั่งให้ไปทะลวงสะพาน ท่อระบายน้ำที่ทำไว้ขนาดเล็กไม่สอดคล้องกันสภาพความเป็นจริง
สำหรับแนวคิดที่จะมีการออก "กฎหมายเช่าที่นา" นั้น มูลนิธิชัยพัฒนาเคยได้รับสนองพระ ราชดำริให้ไปดูงานที่รัฐนิวออร์ลีน กว่า 10 ปีมาแล้ว ซึ่งมีแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ที่มีน้ำท่วมทุกปีเหมือน กัน และรัฐนี้มีกฎหมายเช่าที่นาของประชาชนไว้จำนวนไม่มาก และจ่ายเงินเป็นรายปีให้ โดยสงวนสิทธิว่าเมื่อยามที่รัฐบาลต้องการใช้ขอสิทธิใช้ได้ ในกรณีเกิดน้ำท่วมใหญ่จะปล่อยน้ำเข้าไปบริเวณดัง กล่าว ถ้าปีไหนไม่เกิดน้ำท่วมก็ทำนาพืชไร่ได้ปกติ แต่จะนำมาใช้ในประเทศไทยหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาล แม้ว่าขณะนี้ชาวนาไทยจะยินดีให้ดำเนินการโดยไม่คิดเงิน แต่ในแง่ของรัฐก็ต้องดูแลให้ด้วย
ส่วนเรื่องที่ว่ามีความจำเป็นในการเช่าที่นาเพื่อรับน้ำแล้วหรือไม่นั้น เรื่องนี้ควรต้องจัดการอย่างเป็นระบบ เพราะขณะนี้ดำเนินการแบบเผชิญเหตุเฉพาะหน้าจึงค่อนข้างฉุกละหุก ถ้าวางเป็นระ บบของน้ำจำนวนเท่าไรนำไปใส่พื้นที่แก้มลิงที่จัดหาไว้ รวมกับพื้นที่ของหน่วยราชการต่างๆ ซึ่งสำ นักงานไอทีน้ำเพื่อการเกษตร พร้อมจะสนับสนุนฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ถ้าทำได้อย่างนี้จะเกิดประสิทธิ ภาพอย่างมาก ปัญหาจะทุเลาลงได้
"เราหนีน้ำไม่ได้ เราจะแก้ปัญหาของธรรมชาติที่เข้ามาหาตัวเราคงยาก เพราะธรรมชาติคือธรรมชาติ เราจะไปบังคับน้ำไม่ให้เข้ามาเท่านั้นเท่านี้ไม่ได้ เราน่าจะปรับตัวเราเองให้เผชิญเหตุกับน้ำ อย่างบ้านผมที่เพชรบุรี น้ำก็เริ่มจะท่วมแล้วเราก็ไม่ได้เดือดร้อน เพราะเราปลูกบ้านแบบหนีน้ำไว้ มีใต้ถุนและยกชานไว้ เวลานี้ขนของหนีน้ำขึ้นชานหมดแล้ว ดังนั้นการสร้างบ้านก็ต้องดูภูมิประเทศ และปรับเข้าหาธรรมชาติ จะทุเลาลงได้"
เปิดผลวิจัย"มจธ."..."ฝายเล็กชะลอน้ำท่วม"
"รศ.ดร.ชัยยุทธ ชินณะราศี" อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิท ยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) ได้ศึกษารูปแบบการไหลของน้ำบนภูเขาที่ผ่านมาอาคารและเครื่องกีดขวาง โดยมีแนวคิดว่าบนภูเขาที่มี "ฝายเล็ก" ขนาดเล็กๆโพล่ขึ้นมาบนดิน ถ้ากีดขวาง ทาง เดินของน้ำจะช่วยลดความเร็วการไหลของน้ำได้ ขณะเดียวกันก็จะช่วยลดการพัดพาต้นไม้ ดิน ทราย ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนในพื้นที่ด้านล่างของทิศทางน้ำ
วิธีการ คือ ย่อส่วนฝายเล็กลง 1 ใน 100 ส่วนเพื่อทดลองในห้องปฏิบัติการชลศาสตร์ ซึ่งได้ทดลองสร้างฝายจำลองกว้าง 40 ซม. สูง 5 ซม. แล้วกำหนดค่าตัวแปรต่างๆ เช่น ปริมาณน้ำ ความเร็วของการไหล พลังงานน้ำ มุมลาดเอียง สมบัติของดิน ความสูงของฝาย ระยะห่าง และการกัดเซาะของน้ำ เป็นต้น แล้วใช้แคลคูลัสเพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
"เบื้องต้นพบว่าน้ำไหลเอื่อยๆ การลำเลียงตะกอนลดลง การพัดพาไม้ หิน ทราย สู่พื้นที่เบื้องล่างลดลง โดยผลการทดลองในห้องแลบเบื้องต้น พบว่า ความเร็วและพลังงานของกระแสน้ำลดลงอย่างน้อย 40% และบางการทดลองสามารถชะลอความเร็วและพลังงานของน้ำได้สูงสุด 80%"
งานวิจัยชิ้นนี้เหมาะกับการประยุกต์ใช้ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ และมีหน่วย งานเป้าหมายที่จะนำไประยุกต์ใช้ได้ เช่น กรมป่าไม้ องค์การบริการส่วนท้องถิ่น กรมบรรเทาสาธารณภัย และกรมชลประทานที่จะนำไปใช้บรรเทาภัยน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก แต่ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาและปรับปรุงผลการวิจัยให้เหมาะกับการใช้งานจริงและยังต้องหาข้อมูลต่อ ซึ่งการศึกษาเรื่องการชะลอน้ำไหลด้วยฝายเป็นเรื่องใหม่ที่ต่างประเทศเพิ่งมีการศึกษาได้ 6 ปี
ขณะที่เมืองไทยสร้างฝายด้วยเทคโนโลยีชาวบ้าน คือ ใช้หินเรียงกัน ซึ่งก็มีฝายล่ม-ฝายแตก และการใช้ประโยชน์ก็เพื่อกักเก็บน้ำเท่านั้น ไม่ได้ใช้เพื่อ "ชะลอน้ำท่วม" แต่จากปัญหาที่ฤดูฝนมีน้ำความเร็วสูงไหลท่วมพื้นที่เฉียบพลัน เกิดดินถล่มและพัดพาดิน หิน มาทำลายบ้านเรือน จึงเกิดความที่จะหาวิธีลดความเร็วของกระแสน้ำนี้ขึ้นมา
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น